สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

 
สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสมาธิอริยะลีลานาโน
 
 
"สารทไทย" "งานทานสลากภัต"
"ตานก๋วยสลาก" "ทำบุญข้าวสาก"
"งานบุญเดือนสิบ" หรือ "ประเพณีชิงเปรต

 

ตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 

เป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของไทย

 

สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประเพณีการทำบุญในเดือน 10

จะทำในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 เรียกบุญข้าวสาก

 

 

สารท" หมายถึงสิ่งใด

          พระยาอนุมานราชธนได้เขียนเล่าในหนังสือเทศกาลและประเพณีไทยว่าคำว่า "สารทเป็นคำอินเดียหมายถึง "ฤดูตรงกับฤดูในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า "ออทั่มหรือฤดูใบไม้ร่วงซึ่งจะมีเฉพาะบางเขตของโลกอย่างยุโรปจีนและอินเดียตอนเหนือเท่านั้นช่วงนั้นเป็นระยะที่พืชพรรณธัญชาติและผลไม้เริ่มสุกให้พืชผลครั้งแรกในฤดูดังนั้นประชาชนจึงรู้สึกยินดีและถือเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริงจึงมักทำพิธีตามความเชื่อและเลี้ยงดูกันอย่างที่เรียกว่า "Seasonal Festival"


          
โดยบางแห่งก็จะมีการนำพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกที่เรียกว่า "ผลแรกได้ไปสังเวยหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือเพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพที่ท่านช่วยบันดาลให้พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์จนเก็บเกี่ยวได้เช่นพิธีปงคัลในอินเดียตอนใต้ที่มีพิธีต้มข้าวกับน้ำนมทำเป็นขนมเรียกว่าข้าวทิพย์ข้าวปายาสถวายพระคเณศเป็นต้น


          
สำหรับในพจนานุกรมไทย "สารท" มีความหมายว่าเทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน 10 โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์จะตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปีซึ่งมักจะตกราวๆปลายเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

 

 

สารทไทยจัดขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมาย

 

- เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนผู้มีพระคุณเพราะเชื่อกันว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่และญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่มีโอกาสหมดหนี้กรรมได้ไปเกิดหรือมีความสุข


-
ได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้านเป็นการผูกมิตรไมตรีกันไว้เนื่องจากชาวบ้านจะทำขนมกระยาสารทไว้แจกจ่ายกันตามหมู่บ้านบ้านใกล้เรือนเคียงทำให้ได้พบปะกัน


-
เป็นการแสดงความเคารพและอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่


-
เป็นการกระทำจิตใจของตนเองให้สะอาดหมดจดไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภขจัดความตระหนี่ได้


-
เป็นการบำรุงหรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป


-
เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพหรือผีไร่ผีนาที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดีเนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมการทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ข้าวกล้ากำลังงอกงามและรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุกจึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงขอบคุณตอบแทน

 

 

 สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสมาธิอริยะลีลานาโน

 

การทำบุญวันสารทนี้มีในหลายภูมิภาค

โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันดังนี้


           
ภาคกลางเรียกว่า "สารทไทย"

           ภาคเหนือเรียก "งานทานสลากภัต" หรือ "ตานก๋วยสลาก"

           ภาคอีสานเรียก "ทำบุญข้าวสาก"

           ภาคใต้เรียก "งานบุญเดือนสิบ" หรือ "ประเพณีชิงเปรต


          
ถึงแม้ว่าการทำบุญเดือนสิบในแต่ละท้องที่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันแต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือการทำบุญกลางปีเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองที่มีชีวิตผ่านพ้นเวลามาได้ถึงกึ่งปีและเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วแต่อาจมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างดังนี้

 

 

ภาคกลาง

 

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ  ศูนย์ปฏิบัติธรรมสมาธิอริยะลีลานาโน

       

   ประเพณีวันสารทไทยถือว่าเป็นประเพณีของภาคกลางเมื่อใกล้ถึงวันสารทชาวบ้านทุกบ้านจะกวนกระยาสารทเพื่อนำไปตักบาตรและแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านในวันสารทชาวบ้านจะจัดแจงข้าวปลาอาหารไปทำบุญกรวดน้ำที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับและถือศีลฟังธรรมเทศนา

          บางท้องถิ่นจะทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แม่พระโพสพผีนาผีไร่ด้วยเมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นาโดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ 

          มีประเพณีการทำบุญในเดือน 10 เหมือนกันคือทำในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 แต่แบ่งระยะเวลาของประเพณีการทำบุญออกไปเป็น 2 ระยะดังนี้

          ระยะแรกก่อนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวเม่าพองและข้าวตอก (บางแห่งเรียกดอกแตก) ขนมและอาหารหวานคาวอื่นๆเพื่อจะทำบุญในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 โดยเฉพาะข้าวสากซึ่งคนไทยภาคกลางเรียกว่ากระยาสารทเมื่อเตรียมของทำบุญไว้เรียบร้อยก็จะเอาข้าวปลาอาหารไปส่งญาติพี่น้องเพื่อนฝูงถ้าหากบุคคลเหล่านั้นอยู่ห่างไกลก็จะไปค้างคืนนอกจากมอบของแล้วจะถือโอกาสเยี่ยมเยียนไปด้วยเรียกว่าส่งเขาส่งเราผลัดกันไปผลัดกันมาเป็นการแลกเปลี่ยนกันส่วนข้าวสารหรือกระยาสารทนั้นจะส่งก่อนวันทำบุญหรือในวันทำบุญก็ได้เรียกว่าส่งข้าวสาก

          ระยะที่สองคือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 เวลาเช้าชาวบ้านไปทำบุญตักบาตรที่วัดอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้วแต่อาจมีบางคนอยู่วัดรักษาศีลฟังเทศน์เมื่อถึงเวลาใกล้เพลก็เตรียมภัตตาหารไปวัดอีกครั้งหนึ่งมีห่อข้าวน้อยห่อข้าวใหญ่ข้าวสากและอาหารอื่นๆบางแห่งอาจจัดของที่จะถวายเป็นกัณฑ์เทศน์ไปด้วยเมื่อถึงวัดแล้วก็จะจัดภัตตาหารและของที่จะถวายพระภิกษุถวายเสียก่อนบางแห่งนิยมทำเป็นสลากชาวบ้านคนไหนจับสลากถูกชื่อพระภิกษุรูปใดก็ถวายรูปนั้นทำนองเดียวกับการทำบุญสลากภัตจึงเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจว่าการทำบุญข้าวสากก็คือทำบุญด้วยวิธีถวายตามสลาก

          ส่วนห่อข้าวน้อยห่อข้าวใหญ่ชาวบ้านแจกกันเองห่อข้าวน้อยนั้นเมื่อแจกแล้วก็แก้ห่อออกกินกันในวัดทีเดียวถือกันว่าเป็นการกินในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้

          ส่วนห่อข้าวใหญ่เอากลับไปบ้านเก็บไว้ในเวลาต่อไปเพราะอาหารในห่อนั้นเป็นพวกของแห้งเช่นปลาแห้งเนื้อแห้งซึ่งสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานานๆถือคติว่าเอาไปกินในปรโลกประเพณีแจกห่อข้าวน้อยและห่อข่าวใหญ่นี้ปัจจุบันเกือบไม่มีแล้วจะจัดเพียงภัตตาหารไปถวายพระภิกษุพร้อมด้วยข้าวสากหรือถวายกระยาสารทเท่านั้น

          สำหรับข้าวสากที่จะนำไปแจกกันเหมือนกระยาสารทของคนไทยภาคกลางนั้นวิธีห่อผิดกับทางภาคกลางเพราะห่อด้วยใบตองกลัดด้วยไม้กลัดหัว-ท้ายมีรูปลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่ตรงปลายทั้งสองข้างที่เรียกว่าสันตองไม่ต้องพับเข้ามาของที่ใส่ในห่อมีข้าวต้ม (ข้าวเหมือนแบบข้าวต้มผัด) ข้าวสากแกงเนื้อแกงปลาหมากพลูบุหรี่ห่อแล้วเย็บติดกันเป็นคู่ๆเอาไปห้อยไว้ตามต้นไม้รั้วบ้านเมื่อห้อยไว้แล้วก็ตีกลองหรือโปงเป็นสัญญาณให้เปรตมาเอาไปและปล่อยทิ้งไว้ชั่วพักหนึ่งกะเวลาที่เปรตได้มารับเอาอาหารที่ห้อยไว้นั้นไปแล้วชาวบ้านก็แย่งกันชุลมุนใครแย่งเก่งก็ได้มากกว่าคนอื่นเรียกว่าแย่งเปรต

          ของที่แย่งเปรตไปได้นี้ชาวบ้านจะเอาไปไว้ตามไร่นาเพื่อเลี้ยงตาแฮก (ยักษิณีหรือเทพารักษ์รักษาไร่นาซึ่งเคยเลี้ยงมาเมื่อตอนเริ่มทำนาในเดือน 6 มาครั้งหนึ่งแล้ว) นอกจากเลี้ยงตาแฮกแล้วก็เอาไปให้เด็กกินเพราะถือว่าเด็กที่กินแล้วจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย

 

 

ภาคเหนือ

 

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

 

 

          พิธีสารทไทยในภาคเหนือมีชื่อเรียกว่า "ตานก๋วยสลาก" หรือทานสลากภัต (ชื่อในภาคกลาง) และมีชื่ออื่นๆอีกตามแต่ในท้องถิ่นเช่นตานสลาก, กิ๋นข้าวสลาก, กิ๋นก๋วยสลากหรือกิ๋นสลากคำว่า "ก๋วยแปลว่า "ตะกร้า"หรือ "ชะลอมส่วน "สลากภัตหมายถึงอาหารที่ถวายพระตามสลากนับเข้าเป็นเครื่องสังฆทาน

          ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมีตำนานเล่าว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียนผู้คนอยู่เสมอครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งนางยักษิณีตนนั้นถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมากนางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัตแล้วให้พระสงฆ์-สามเณรจับสลากด้วยหลักอปโลกนกรรมคือสิ่งของที่ถวายมีทั้งของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับการถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา

          ประเพณี "ตานก๋วยสลากหรือ "สลากภัตของชาวล้านนานิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน 12 เหนือถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปีเพราะช่วงนี้ชาวนาจะได้หยุดพักหลังจากทำนาเสร็จแล้วขณะที่พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนบวกกับในช่วงเวลานี้มีผลไม้สุกเช่นลำไยมะไฟส้มโอเป็นต้นและยังเป็นการสงเคราะห์คนยากจนเช่นชาวนาที่ฐานะไม่ค่อยดีไม่มีข้าวเหลือพอก่อนฤดูเก็บเกี่ยวจึงนับว่าเป็นการให้สังฆทานได้กุศลแรง

          ก่อนจะถึงวันตานก๋วยสลาก 1 วันจะเรียกว่า "วันดาหรือ "วันสุกดิบเป็นวันที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมข้าวของไม่ว่าจะเป็นของกินหรือของใช้ต่างๆสำหรับที่จะนำมาจัดดาใส่ก๋วยสลากเช่นเกลือข้าวสารหอมกะปิชิ้นปิ้งเนื้อเค็มจิ้นแห้งแคบหมูเมี่ยงบุหรี่ไม้ขีดไฟเทียนไขสีย้อมผ้าผลไม้ต่างๆเป็นต้น

          วันนี้มักจะมีญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ต่างบ้านมาร่วมไฮ่ฮอม (ทำบุญและมาร่วมจัดดาสลากด้วยซึ่งถือเป็นประเพณีที่จะได้ทำบุญร่วมกันผู้ชายจะเป็นคนสานก๋วยสลาก (ตะกร้า) สำหรับที่จะบรรจุใส่ของกินของใช้ต่างๆ ก๋วยจะกรุด้วยใบตองหรือตองจี๋กุ๊กเมื่อรวบปากก๋วยมัดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีไม้ไผ่เหลาเป็นก้านเล็กๆสำหรับเสียบสตางค์, กล่องไม้ขีดไฟ, บุหรี่เพื่อทำเป็นยอดก๋วยสลากจะมากน้อยบ้างตามแต่กำลังศรัทธาและฐานะแต่ในปัจจุบันไม่ค่อยมีคนสาน "ก๋วย" เป็นจึงใช้ถุงพลาสติกบรรจุสิ่งของต่างๆแทน 

ก๋วยสลากมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

          1. ก๋วยน้อย เป็นก๋วยสลากสำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับทั้งญาติพี่น้องเพื่อนสนิทมิตรสหายหรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรักและมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิตเช่นช้างม้าวัวควายและสุนัขเป็นต้นหรือถ้าไม่รู้ว่าจะถวายทานไปให้ใครก็ถวายทานเอาไว้ภายหน้า

          2. ก๋วยใหญ่ เป็นก๋วยที่จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษซึ่งจะบรรจุข้าวของได้มากขึ้นถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธาและฐานะดีเป็นปัจจัยนับว่าได้กุศลแรง

          สลากที่มักจัดทำขึ้นเป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ "สลากโชคมักจะเป็นสลากของผู้ที่มีฐานะดีระดับเศรษฐี (บางคน) ที่ต้องการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้กับบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับอันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณคนมักทำเป็นต้นสลากที่สูงใหญ่สำหรับที่จะนำเอาวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆผูกมัดติดกับต้นสลากเช่นผ้าห่มที่นอนหมอนหม้อนึ่งไหข้าวหม้อแกงถ้วยชามช้อนร่มเครื่องนุ่งห่มอาหารแห้งต่างๆและเงินที่เป็นธนบัตรชนิดต่างๆต้นสลากจะมีการประดับตกแต่งให้สวยงามกว่าสลากธรรมดา

          ก่อนที่จะนำเอาก๋วยสลากไปรวมกันที่วัดต้องเขียนเส้นสลากเสียก่อนโดยเส้นสลากนี้ผู้เป็นเจ้าของก๋วยสลากจะเอาใบลานมาตัดเป็นเส้นยาวๆความกว้าง 2-3 นิ้วแล้วจารึกชื่อของเจ้าของไว้บอกว่าอุทิศส่วนกุศลให้ใครบ้างแต่ปัจจุบันจะเขียนลงบนแผ่นกระดาษคำจารึกในเส้นนั้นมักจะเขียนดังนี้


          
เจติตานํสลากข้าวซองนี้หมายมีผู้ข้าชื่อ...........ของทานไว้กับตนกับตัวภายหน้า ขอหื้อสุขสามประการมีนิพพานเป๋นยอดแด่เน้อ.............


          
เมื่อนำเอาก๋วยสลากไปรวมกันไว้ที่วัดแล้วเส้นสลากจะถูกนำไปกองรวมกันไว้ในวิหารหน้าพระประธานจากนั้นทายกผู้เป็นหัวหน้าก็จะนำเบอร์มาติดที่สำรับกับข้าวของเจ้าภาพแต่ละรายแล้วเขียนหมายเลขเมื่อเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้วเส้นสลากจะถูกนำมาแบ่งสันปันส่วนกันไปโดยการจับสลากในหมู่ของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่างๆรูปละ 5 เส้น 10 เส้นบ้างแล้วแต่กรณีส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งให้วัดที่เป็นเจ้าภาพ 
         
ก่อนจะถึงเวลาเพลพระสงฆ์ก็จะนำเอาเส้นสลากไปอ่านโดยเริ่มจากเจ้าอาวาสพระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็ไปฉันสำรับกับข้าวที่เจ้าภาพนำมาก่อนที่จะมีการเส้นสลาก (จับสลาก) ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย 1 กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลากเมื่อพระฉันเสร็จแล้วก็จะอนุโมทนาและให้ศีลให้พรเจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธี

          งานสารทไทยภาคเหนือที่เป็นเอกลักษณ์อีกแห่งคือ "งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงของจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งขึ้นชื่อเรื่องกล้วยไข่งานนี้เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปีพ.. 2524 และจัดต่อเนื่องมาเรื่อยๆเนื่องจากเห็นว่ากล้วยไข่จะออกผลมากในช่วงเดือนกันยายนพอดีและสามารถรับประทานเคียงกับกระยาสารทซึ่งเป็นขนมประจำวันสารทไทยได้เป็นอย่างดีจึงเป็นการประชาสัมพันธ์จังหวัดไปในตัว

 

 

ภาคใต้

 

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

        

  มีประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้วในเดือน 10 เป็น 2 วาระคือวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ครั้งหนึ่งและวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 อีกครั้งหนึ่งโดยถือคติว่าพ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรกหรือเรียกว่าเปรตนั้นจะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ดังนั้นจึงมีการทำบุญใน 2 วาระดังกล่าวนี้แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 เพราะมีความสำคัญมากกว่า

การทำบุญของชาวไทยภาคใต้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเป็น 4 อย่างคือ

          1. ประเพณีทำบุญเดือนสิบโดยกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก

          2. ประเพณีทำบุญวันสารทโดยถือหลักของการทำบุญที่มีความสัมพันธ์กับอินเดียเหมือนวันสารทไทยของคนไทยในภาคกลางดังกล่าวมาแล้วบางครั้งก็เรียกว่าประเพณีทำบุญสารทหรือเดือนสิบซึ่งที่รู้จักกันดีคือประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช

          3. ประเพณีจัดหมรับ (อ่านว่าหมับแปลว่าสำรับ) การยกหมรับและการชิงเปรตคำว่าจัดหมรับได้แก่การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุโดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้แล้วนำถวายพระภิกษุเป็นมื้อๆการยกหมรับที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัดพร้อมทั้งภัตตาหารไปถวายพระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพลจะจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โตก็ได้บางแห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย

          ส่วนชิงเปรตหรือตั้งเปรตนั้นเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำบุญกล่าวคือเมื่อจัดหมรับยกหมรับไปถวายพระภิกษุแล้วจะเอาอาหารที่จัดไว้ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไปจัดตั้งไว้ให้เปรตโดยมากเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือขนม 5 อย่างคือขนมพองโดยหมายถึงจะให้เป็นแพฟ่องล่องลอยพาบรรพชนล่วงข้ามสังสารวัฏ, ขนมลาให้เป็นแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม, ขนมกงหรืองบางทีก็ใช้ขนมไข่ปลาให้เป็นเครื่องประดับ, ขนมดีซำให้เป็นเบี้ยไว้ใช้สอยและขนมบ้าให้บรรพชนใช้เป็นลูกสะบ้าสำหรับเล่นรับสงกรานต์

          สถานที่ตั้งอาหารเป็นร้านสูงพอสมควรเรียกว่าร้านเปรตหรือหลา (ศาลา) เปรตมีสายสิญจน์วงรอบโดยให้ปลายสายสิญจน์อีกข้างหนึ่งโยงมาสำหรับพระภิกษุชักบังสุกุลซึ่งชาวบ้านจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับพอเก็บสายสิญจน์แล้วก็จะมีการแย่งอาหารและขนมที่ตั้งเปรตไว้นั้นอย่างสนุกสนานเรียกว่าชิงเปรตแล้วนำมากินถือว่าได้กุศลแรงและเป็นสิริมงคลการทำบุญด้วยวิธีตั้งเปรตและชักบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลนี้บางครั้งเรียกว่าการฉลองหมรับและบังสุกุลถือว่าสำคัญเพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยซึ่งต่อมาได้มีการจัดเป็นแถวรอรับเพื่อความเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทเนื่องจากการแย่งชิงกัน

          4. ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับ-ส่งตายายโดยถือคติว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 และกลับนรกตามเดิมในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 แต่มีบางแห่งถือว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วเหล่านี้เป็นตายายเมื่อท่านมาก็ทำบุญรับเมื่อท่านกลับก็ส่งกลับจึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่าทำบุญตายาย

 

 

ขนมประจำวันสารทไทย

 

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

สารทไทย หรือบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเดือนสิบ

 

 

          กระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทยด้วยมีความเชื่อว่าถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้วญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้นขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบคือข้าวตอกข้าวเม่าถั่วงาและน้ำตาลนำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกันเมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลมหรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้

          สำหรับการกวนกระยาสารทนั้นต้องใช้เวลาและแรงคนหลายๆคนจึงจะทำเสร็จได้ดังนั้นการกวนกระยาสารทจึงต้องอาศัยความสามัคคีกันของคนในครอบครัวเมื่อกวนกระยาสารทเสร็จแล้วชาวบ้านก็จะนำไปทำบุญและแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของประเพณีวันสารทไทยมิใช่เป็นเพียงเรื่องของขนมที่ใช้ในการทำบุญเท่านั้นหากแต่อยู่ที่กุศโลบายในการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัวการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและการแสดงน้ำใจไมตรีต่อกันระหว่างเพื่อนบ้านอีกด้วย
         
นอกจากกระยาสารทแล้วก็ยังมีขนมอื่นๆเช่นขนมลาขนมพองขนมกงขนมไข่ปลาขนมเทียนขนมดีซำขนมบ้า 

          ข้าวยาคู มีตำนานเล่ามาว่ามีชาวนาพี่น้อง 2 คนคนโตชื่อว่ามหาการน้องชื่อจุลการมีไร่นากว้างใหญ่ในฤดูที่ข้าวออกรวงคนน้องเห็นว่าควรจะนำข้าวนั้นมาทำอาหารถวายพระพุทธเจ้าผู้ทรงนามว่าวิปัสสีแต่พี่ชายไม่เห็นด้วยเพราะจะต้องเสียข้าวในนาจำนวนไม่น้อยน้องชายจึงแบ่งไร่นาและนำเมล็ดข้าวในสวนไร่นาของตนไปทำอาหารที่เรียกว่าข้าวยาคูไปถวายพระวิปัสสีและอธิษฐานขอให้เกิดในบวรพระพุทธศาสนาซึ่งภายหลังจุลการได้เกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะสำหรับข้าวยาคูนี้จุลการได้ข้าวสาลีที่กำลังท้องฉีกรวงข้าวอ่อนออกมาแล้วต้มในน้ำนมสดเจือด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด

          ข้าวมธุปายาสคือข้าวที่หุงเจือด้วยน้ำนมและน้ำผึ้งมีตำนานเล่าว่านางสุชาดาลูกสาวเศรษฐีปรุงขึ้นเป็นอาหารไปแก้บนและได้เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ประทับใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร) ก็เข้าใจว่าพระองค์เป็นเทพยดาจึงนำอาหารนั้นไปถวายพระโพธิสัตว์จึงได้เสวยข้าวมธุปายาสเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงมีความเชื่อกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นอาหารวิเศษผู้ใดมีวาสนาได้กินแล้วจะมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยอุดมด้วยสติปัญญาและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

          ข้าวทิพย์หมายถึงอาหารอันโอชะที่มีเครื่องปรุงถึง 108 ชนิด (หากทำแบบโบราณ) แต่โดยหลักๆก็มี 9 อย่างคือน้ำนมข้าวเนยน้ำอ้อยน้ำผึ้งน้ำตาลนมถั่วงาและข้าวเม่าซึ่งการกวนแต่ละครั้งก็ต้องประกอบพิธีกรรมหลายอย่างเช่นต้องใช้สาวพรหมจารีกวนฟืนที่ใช้ต้องเป็นไม้ชัยพฤกษ์หรือไม้พุทราเท่านั้นส่วนไฟก็ต้องเกิดจากแดดผ่านแว่นขยายที่เรียกว่า "สุริยกานต์" เป็นต้น

          สำหรับวันสารทไทยในปี 2565 ตรงกับวันวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน เราคนรุ่นใหม่อย่าลืมช่วยกันรักษาประเพณีไทยนี้ไว้เพื่อไม่ให้ความเป็นไทยสูญหายไปตามกาลเวลา

 

 

 

สารทไทย บุญข้าวสาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณบทความจาก : kapook.com

 

 

 
Visitors: 180,898,435